วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รายงานเรื่อง หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร

หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร


ความเป็นมาของหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
ประวัติความเป็นมา
ความคิดเรื่องการมีหอศิลป์สำหรับประชาชนในวงกว้าง เกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากในอดีตนโยบายภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนในการสนับสนุนงานด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจัง และเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาสติปัญญาอารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ สิ่งนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนวร่วมศิลปินไทยในการสร้างหอศิลปะร่วมสมัย เพื่อให้มีหอศิลป์ที่ทัดเทียมกับสากลและเป็นเกียรติศักดิ์ศรีกับประเทศ รวมทั้งเพื่อให้สังคมมีแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นทางเลือกเพื่อจรรโลงยกระดับจิตใจควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ หอศิลป์สำหรับประชาชนควรเป็นการลงทุนจากภาครัฐ โดยไม่แสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ เป็นการลงทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเช่นเดียวกับการสร้างสาธารณูปโภค การสร้างหอศิลป์เปรียบเป็นสาธารณูปโภคทางสมองิ หรือ softwareทางปัญญาที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการสร้าง hardware
การก่อสร้างหอศิลป์บริเวณย่านปทุมวันซึ่งเป็นแหล่งรวมของเยาวชนวัยรุ่น จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดพวกเขาให้หันมาสนใจและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรม ได้แสวงหาความรู้ความเข้าใจ ได้แสดงออก และพักผ่อนหย่อนใจในเวลาเดียวกัน
โครงการก่อการสร้างหอศิลป์ได้เริ่มขึ้นเมื่อดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯได้มีมติร่วมกับคณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9เมื่อปี 2538 ให้กรุงเทพมหานครจัดสร้างหอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานครณ สี่แยกปทุมวัน โดยมีรูปแบบที่ผ่านการคิดและการตัดสินใจร่วมกัน อย่างไรก็ตามโครงการต้องมาสดุดหยุดลงเมื่อนายสมัครสุนทรเวช เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อมา ในปี 2544 และล้มเลิกโครงการหอศิลป์ตามรูปแบบเดิมให้มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์มากขึ้นพร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงจากเดิมกรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงทุนมาเป็นให้เอกชนสร้างองค์กรด้านศิลปะ ศิลปิน อาจารย์ นักศึกษาและสื่อมวลชน ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมคัดค้านการระงับโครงการเดิม มีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครในสมัยนั้นทบทวนโครงการรวมทั้งการจัดกิจกรรมวาดภาพเขียนยาว 4 กิโลเมตร ในหัวข้อ ฉันเรียกร้องหอศิลป์ไม่เอาศูนย์การค้าิ การดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระงับโครงการฯ และการจัด "ART VOTE"
โหวตเพื่อหอศิลป์
กระทั่งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี 2547 เครือข่ายศิลปินและประชาชนจึงได้นำโครงการหอศิลป์เข้าหารือ และได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคริ ตามโครงการเดิม
นับเป็นเวลา 10 ปี หอศิลปฯ ต้องใช้เวลาเดินทาง ผ่านการผลักดันและรณรงค์อย่างเข้มข้น จนในที่สุด อาคารหอศิลปฯ ก็เกิดขึ้น ณ สี่แยกปทุมวัน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมศิลปะระหว่างกรุงเทพมหานครและเครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร การเดินทาง สู่การรับรู้ศิลปะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว อาคารงดงามแห่งนี้เป็นเสมือนจุดนัดพบทางปัญญา ศิลปะเป็นเรื่องเข้าถึงง่ายและชื่นชมง่าย ทุกคนสามารถมารวมตัวกันเพื่อร่วมกิจกรรมด้านศิลปะอันหลากหลาย นิทรรศการหมุนเวียน ดนตรี กวี ละคร ภาพยนตร์เสวนา และวรรณกรรม เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ นำไปสู่ความเจริญทางปัญญา สุขภาพทางใจ และการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ต่อไป

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
1. เป็นสถานที่ให้การศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมแก่ชุมชน และประชาชน
2. เป็นพื้นที่สำหรับการเชื่อมโยงทุนเดิมจากมรดกทางวัฒนธรรมเข้ากับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ให้เกิดองค์ความรู้หลากหลาย
3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่าย และระดมทรัพยากรในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และเป็นองค์กรส่งเสริม สร้างโอกาส ประสานการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างและพัฒนาระบบการบริหารจัดการหอศิลปฯ สู่ระดับมาตรฐานสากล
4. เป็นเวทีในการนำเสนอและบริหารจัดการ การแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
5. เป็นส่วนเสริมสร้างศักดิ์ศรีแก่กรุงเทพมหานคร สู่ความเป็นมหานครแห่งศิลปวัฒนธรรมระดับโลก
















หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
นิทรรศการและกิจกรรม

ชั้น1 โถง/ห้องเอนกประสงค์, นิทรรศการ “เกมดี ครั้งที่5”
วัน : วันที่6-7 สิงหาคม 2553
พิธีเปิดนิทรรสการ : วันที่6 สิงหาคม 2553
กระทรวงวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมมือกันขับเคลื่อนกิจกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยดำเนินกิจกรรมจัดนิทรรศการ เกมดี ครั้งที่5ขึ้น เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ในการขยายสื่อดีให้เพิ่มขึ้นในสังคม ซึ่งนิทรรศการครั้งนี้ เป้าหมายสำคัญคือแนะนำ พ่อ แม่ ผู้ปกครองให้รู้เท่าทันเด็กและสอนเด็กให้รู้เท่าทันเกม

ชั้นที่2 ห้องกระจก , นิทรรศการ “ผิวเผิน”
วัน : วันที่ 7-22 สิงหาคม 2553
พิธีเปิดนิทรรศการ: วันที่ 6 สิงหาคม 2553 เวลา 18.00น.
“ผิวเผิน” เป็นงานแสดงภาพถ่ายร่วมสมัยของศิลปินสิบเอ็ดคนเพื่อเดินทางไปมหานครนิวยอร์กเพื่องานวิจัยอิสระทางการถ่ายภาพของจุดต่างๆตามตัวเมืองต่างๆ ตามตัวเมืองนิวยอร์ก งานแสดงครั้งนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ทั้งเทคนิคการถ่ายรูปและการสัมผัสค้นหาประสบการณ์
แมนฮัตตันมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งมากเกินกว่าที่จะสามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ สิ่งที่ศิลปินทุกคนสามารถสัมผัสได้คือพื้นผิวที่ถูกปรับแต่งขึ้นมาทั้งทางด้านสังคมและทางกายภาพ
ศิลปินทั้งสิบเอ็ดคนประสบปัญหาในการเดินทางและการซึมซับประสบการณ์ในบลู๊คลิน และแมนฮัตตัน ศิลปินทั้งสิบเอ็ดคนใช้เวลาทั้งหมดสิบแปดคืนในการค้นหาและตรวจสอบจุดต่างๆ ตามเมืองเพื่อที่จะหาวิธีในการตอบโจทย์ที่พวกเขาได้สร้างขึ้นมาเพื่อที่พวกเขาจะได้เรียนรู้ถึงวิถีที่แตกต่างและเต็มไปด้วยความน่าสนใจของอเมริกา งานทั้งหมดที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของวิชาในภาคฤดูร้อนของภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น 3-4 ผนังโค้ง , นิทรรศการ “20 ปี 20 ศิลปิน”
วัน : วันที่ 3-15 สิงหาคม 2553
พิธีเปิดนิทรรสการ : วันที่3 สิงหาคม 2553 เวลา 18.00-21.00น.
จากอดีตสู่อนาคต ชื่นชมกับงานศิลปะร่วมสมัยใน 20ปีที่ผ่านมา และก้าวสู่อนาคตไปกับอักโกะอาร์ตแกลลอรี่และยี่สิบศิลปิน
พบกับการเวิร์คชอปการแกะสลักไม้กับศิลปิน ทัก อาทิยามา, เพลงโกโตะ ร่วมสมัยโดยนักดนตรีชาวญี่ปุ่น คุณโนริโกะ ชุโบอิ และ แสดงการแกะสลักแม่พิมพ์ไม้โดยคุณทัก อากิยามา

ชั้น4 นิทรรศการ “การปลดปล่อย”
วัน : วันที่ 3-13 สิงหาคม 2553
พิธีเปิดนิทรรศการ : วันที่ 4 สิงหาคม 2553 เวลา 18.30น.
“ความทรงจำและจิตใต้สำนึกที่ถูกฝังลึกอยู่ส่วนในสุดของจิตใจ ได้ถูกปิดและปลดปล่อยออกมา เศษเสี้ยวของความทรงจำต่างๆ หลุดลอยไปทั่วทิศทาง ความทรงจำและจิตใต้สำนึกเหล่านั้นหล่อหลอมและจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเปลี่ยนสถานภาพจาก นามธรรม กลายเป็นรูปธรรม”
นิทรรศการแสดงวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีที่4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเล้าธนบุรี จำนวน40ชิ้น ในคอนเซป Release , The การปลดปล่อยเนื้อหาส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น สามแบบหลักๆได้แก่ เนื้อหาที่พาดผิงถึงสังคม , เนื้อหาที่เกี่ยวกับความสนใจในตัวเอง , เนื้อหาที่เกี่ยวกับความทรงจำและจิตใต้สำนึก
ชั้น 7 นิทรรศการ “ไอคอนออฟดีไซน์ ฝรั่งเศส”
วัน: วันนี้ -22 สิงหาคม 2553
“ไอคอนดีไซน์ ฝรั่งเศส” รวบรวมผลงานการออกแบบฝรั่งเศสในศตวรรษที่20 กว่าสามสิบชิ้น ของ ฟิลลิป สตาร์ค , ฌอง พรูเว,ปิแยร์ โปแลง , โรนอง บูรูเลค, และ เลอ กอร์บูชิเย ผลงานการออกแบบฝรั่งเศสแต่ละชิ้นสะท้อนถึงพัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่โดดเด่นในแต่ละยุคสมัยซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศฝรั่งเศส เป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญทางด้านอุตสาหกรรม นิทรรศการชุด “ไอคอน ดีไซน์ สไตล์ฝรั่งเศส” แสดงผลงานออกแบบตั้งแต่รถยนต์ DS Citroen จนถึงเครื่องบิน Concorde ตลอดจนการออกแบบเก้าอี้ยาว LC4 ของ Le Corbusierกล่าวได้ว่า นิทรรศการชุดนี้ตอกย้ำและสะท้อนให้เห็นบทบาทสำคัญของการออกแบบของฝรั่งเศสในประวัติศาสตร์การออกแบบนานาชาติ

ชั้น 8 นิทรรศการ “ภูมินิทัศน์ วัฒนธรรม”
วัน: วันนี้-22 สิงหาคม 2553
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมจัดทำโครงการประกวดภาพถ่ายศิลปวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อนำเสนอกระบวนการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับทุนทางวัฒนธรรมและเพื่อกระตุ้นการสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายศิลปวัฒนธรรมและที่เป็นประโยชน์ในสาขาวิชาชีพการถ่ายภาพและกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลงานที่นำเสนอกว่า 200ภาพ เป็นภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และภาพถ่ายที่เข้ารอบจากภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้ ผลงานแต่ละภาพนำเสนอภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมที่หลากหลายภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย

ชั้น 9 นิทรรศการรวมพลังศิลปิน เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ “ฝันถึงสันติภาพ”
วัน : วันนี้ -22 สิงหาคม 2553
ด้วยความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของประชาชนในชาติ นิทรรศการฝันถึงสันติภาพ รวมพลังจากศิลปินและนักออกแบบร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานภายใต้แนวคิดในการเยียวยาจิตใจ และตีความจากแง่มุมที่หลากหลายสะท้อนภาวะสถานการณ์ปัจจุบันในเชิงสร้างสรรค์
กระทรวงวัฒนธรรมตระหนักถึงความสำคัญของการเยียวยาจิตใจของคนในชาติ การกอบกู้ภาพลักษณ์ และการฟื้นฟูประเทศ ด้วยการแสดงออกถึงความต้องการสันติภาพในสังคมตามมุมมองของศิลปิน นักคิดสร้างสรรค์ นักแสดง นักร้อง ผู้สร้างภาพยนตร์อิสระ และนักวิชาการ โดยเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ออกแบบงานศิลปะเพื่อสร้างสันติภาพ และสมานฉันท์ในพื้นที่ที่ได้รับผลลกระทบ อาทิ บริเวณห้างเซ็นทัลเวิล์ด สี่แยกราชประสงค์ ถนนเพลินจิต สี่แยกคอกวัว เป็นต้น การบริการออกแบบภูมิทัศน์ ป้ายชื่อร้าน ป้ายโฆษณา ให้ผู้ได้รับผลกระทบโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายของกลุ่มศิลปินและสมาคมกราฟฟิกแห่งประเทศไทย

ปัญหาที่ไป
1. ปัญหาที่เกิดจากการจราจรติดขัด
2. ปัญหาที่เกิดจากมีฝนตกทำให้เดินทางไม่สะดวก
3. มีผู้คนจำนวนมากทำให้รู้สึกว่าอึดอัด
ของที่ระลึก
1. โปสเตอร์
2. โปสการ์ด
3. ภาพวาด(การวาดภาพเหมือน)
4. รูปภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น