วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ


-ช่วยทำให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภายในประเทศ (Local Income)

-ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล (Government Receipt)
-ช่วยให้เกิดการจ้างงาน (Employment)
-ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ (Creating new job)
-ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Earning)
-ช่วยให้เกิดภาวะดุลชำระเงิน (Balance of Payment)

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
-ค่าครองชีพของคนในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น (Increase of Living Expenses)
-ราคาที่ดินแพงขึ้น
-มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติ
-ทำให้สูญเสียรายได้ออกนอกประเทศ
-รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ เป็นไปตามฤดูกาล

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อสังคม

-เป็นการพักผ่อนหย่อนใจของบุคคล ลดความเครียด
-ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในชาติต่างๆ
-ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
-มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น
-คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในแหล่งท่องเที่ยวและ-บริเวณใกล้เคียง

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม

-ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว
-โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลง
-การเลือนหายของอาชีพดั้งเดิมในท้องถิ่น
-ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
-ปัญหาโสเภณีและCommercial sex
-การมีค่านิยมผิดๆ จากการเลียนแบบนักท่องเที่ยว

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม

-เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรมถูกรื้อฟื้นหรือไม่เลือนจางหายไป
-มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น
-ช่วยเผยแพร่National Identity(............ลักษณ์ประเทศ)

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม

-คุณค่าของงานศิลปะลดลง
-วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกนำเสนอขายในรูปแบบของสินค้าเน้นตอบสน
-วัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวมีบทบาทในการรับวัฒนธรรมใหม่ (Acculturate) ของคนในท้องถิ่น

ของนักท่องเที่ยว
-เกิดภาวะตระหนกและสับสนทางวัฒนธรรม (Culture Shock)
-การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรมนั้น(Demonstration Effect)

ผลกระทบทางบวกจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม

-เกิดการปรับปรุงและพัฒนาสภาพภูมิทัศน์และกายภาพให้ดีขึ้น
-มีการลงทุนจากภาครัฐในด้านสาธารณูปโภคเพื่อเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ
-เกิดการพัฒนาพื้นที่ธรรมชาติ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า
-เกิดมีการปรับปรุงแก้ไข มาตรการ ระเบียบตลอดจนกฎหมายต่างๆ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระยะยาว

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม

-พื้นที่ธรรมชาติบางส่วนถูกทำลาย เพื่อการสร้างที่พักในแหล่งธรรมชาติ
-กิจกรรมนันทนาการบางประเภทมีผลต่อธรรมชาติ อาทิ การตั้งแคมป์ไฟ การตัดต้นไม้
-การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอาจส่งผลต่อภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
-การท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่า อาจส่งผลต่อธรรมชาติในแง่ดินถล่ม การบุกรุกพื้นที่
-การรบกวนธรรมชาติอันเกิดจากการไม่จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าเยี่ยมชมธรรมชาติ
-เกิดการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากที่ดินในแนวทางที่ไม่เหมาะสม
-เกิดการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวบางราย
-ขยะมูลฝอยต่าง ๆ ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการที่กำจัดไม่เหมาะสม
-ทำลายภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยว ทั้งกลิ่นและภาพ น้ำเน่าเสีย จากผู้ประกอบการต่างๆ อาทิ โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ฯลฯ
-อากาศเสีย จากการก่อสร้างเนื่องมาจากการขยายตัวของแหล่งท่องเที่ยว

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม หมายถึง การประกอบกิจการ และบริการอาหารและเครื่องดื่ม แก่นักเดินทาง นักท่องเที่ยว หรือประชาชนทั่วไป โดยจัดเตรียมที่นั่งให้ผู้บริโภค ให้รับประทานอาหารในสถานที่ที่ให้บริการ หรืออาจให้บริการบรรจุอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภครับประทานที่อื่นได้

ประเภทธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
ธุรกิจอาหารจานด่วน (Fast-Food)

เน้นความสะดวกรวดเร็วราคาต่ำไม่บริการเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
และมีการเปิดให้บริการทุกวัน



ธุรกิจอาหารสำเร็จรูป
อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เนย แซนวิช สลัด เป็นต้น ที่นั่งมีจำกัด

ธุรกิจอาหาร Buffets(บุฟเฟ่ต์)

ลูกค้าบริการตัวเอง "All you can eat"(บริการในโรงแรม)







ธุรกิจอาหารประเภท Coffee Shop
เน้นบริการรวดเร็วให้บริการอาหารอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการ

ธุรกิจ Cafetarias
บริการตนเอง รายการอาหารมีจำกัด (ในห้าง แบบแลกคูปอง)

ธุรกิจอาหาร Gourmet Restaurants
บริการลูกค้าระดับสูง มีฐานะดี

ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ Ethnic Restaurants

เน้นบริการอาหารประจำท้องถิ่น หรือประจำชาติ

อาหารไทย(Thai Food)

ภาคกลาง
จะมีรสชาติผสมผสาน มีทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เครื่องเทศต่างๆ มักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร แบ่งออกเป็น

1. อาหารที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง เครื่องเทศ จากอินเดีย การผัดโดยใช้น้ำมันมาจากประเทศจีน ของหวานจำพวก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง มาจากโปรตุเกส เป็นต้น

2. อาหารที่ต้องใช้ความประณีตในการประดิษฐ์ อาทิเช่น การแกะสลักผักผลไม้ ขนมช่อม่วง ลูกชุบ ข้าวแช่

3. อาหารที่มีเครื่องเคียงของแนม อาทิ น้ำพริกต่างๆ น้ำปลาหวานสะเดา

4. อาหารว่างและขนม อาทิ กระทงทอง บัวลอย ขนมลืมกลืน ขนมขี้หนู ข้าวตังหน้าตั้ง ขนมสอดไส้ เป็นต้น

ภาคเหนือ



อาหารส่วนใหญ่จะยังคงใช้พืชตามป่าเขา หรือที่เพาะปลูกไว้มาปรุงอาหาร โดยมีแบบเฉพาะในการรับประทานเรียกว่า “ขันโตก” อาหารทางเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล เพราะความหวานจะได้จากพืชผักต่างๆ จากการต้ม การผัด
อาหารภาคเหนือที่รู้จักกัน อาทิ น้ำพริกหนุ่มมีเครื่องแนมคือแคบหมู ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงฮังเล ไข่มดส้ม เป็นต้น

ภาคใต้



อาหารหลักมักเป็นอาหารทะเล พวกกุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งโดยปกติจะมีกลิ่นคาว จึงมักใช้เครื่องเทศและขมิ้นเพื่อดับกลิ่น จึงมีรสเผ็ดร้อน เค็ม และเปรี้ยวไม่นิยมรสหวาน อาหารทางภาคใต้ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงไตปลา แกงเหลือง เป็นต้น




ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นิยมบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ สัตว์อื่นๆ ที่มีในธรรมชาติก็นำมาประกอบอาหารเช่นกัน อาทิ มดแดง ตั๊กแตน แมงดานา โดยทั่วไปอาหารจะมีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม จึงมีการถนอมอาหารในรูปแบบต่างๆ อาทิ ปลาร้า เนื้อเค็ม เป็นต้นอาหารที่เป็นที่นิยม อาทิ ส้มตำต่างๆ แกงอ่อม ต้มเปรอะ