วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ


-ช่วยทำให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภายในประเทศ (Local Income)

-ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล (Government Receipt)
-ช่วยให้เกิดการจ้างงาน (Employment)
-ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ (Creating new job)
-ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Earning)
-ช่วยให้เกิดภาวะดุลชำระเงิน (Balance of Payment)

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
-ค่าครองชีพของคนในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น (Increase of Living Expenses)
-ราคาที่ดินแพงขึ้น
-มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติ
-ทำให้สูญเสียรายได้ออกนอกประเทศ
-รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ เป็นไปตามฤดูกาล

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อสังคม

-เป็นการพักผ่อนหย่อนใจของบุคคล ลดความเครียด
-ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในชาติต่างๆ
-ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
-มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น
-คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในแหล่งท่องเที่ยวและ-บริเวณใกล้เคียง

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม

-ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว
-โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลง
-การเลือนหายของอาชีพดั้งเดิมในท้องถิ่น
-ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
-ปัญหาโสเภณีและCommercial sex
-การมีค่านิยมผิดๆ จากการเลียนแบบนักท่องเที่ยว

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม

-เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรมถูกรื้อฟื้นหรือไม่เลือนจางหายไป
-มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น
-ช่วยเผยแพร่National Identity(............ลักษณ์ประเทศ)

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม

-คุณค่าของงานศิลปะลดลง
-วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกนำเสนอขายในรูปแบบของสินค้าเน้นตอบสน
-วัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวมีบทบาทในการรับวัฒนธรรมใหม่ (Acculturate) ของคนในท้องถิ่น

ของนักท่องเที่ยว
-เกิดภาวะตระหนกและสับสนทางวัฒนธรรม (Culture Shock)
-การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรมนั้น(Demonstration Effect)

ผลกระทบทางบวกจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม

-เกิดการปรับปรุงและพัฒนาสภาพภูมิทัศน์และกายภาพให้ดีขึ้น
-มีการลงทุนจากภาครัฐในด้านสาธารณูปโภคเพื่อเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ
-เกิดการพัฒนาพื้นที่ธรรมชาติ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า
-เกิดมีการปรับปรุงแก้ไข มาตรการ ระเบียบตลอดจนกฎหมายต่างๆ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระยะยาว

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม

-พื้นที่ธรรมชาติบางส่วนถูกทำลาย เพื่อการสร้างที่พักในแหล่งธรรมชาติ
-กิจกรรมนันทนาการบางประเภทมีผลต่อธรรมชาติ อาทิ การตั้งแคมป์ไฟ การตัดต้นไม้
-การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอาจส่งผลต่อภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
-การท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่า อาจส่งผลต่อธรรมชาติในแง่ดินถล่ม การบุกรุกพื้นที่
-การรบกวนธรรมชาติอันเกิดจากการไม่จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าเยี่ยมชมธรรมชาติ
-เกิดการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากที่ดินในแนวทางที่ไม่เหมาะสม
-เกิดการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวบางราย
-ขยะมูลฝอยต่าง ๆ ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการที่กำจัดไม่เหมาะสม
-ทำลายภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยว ทั้งกลิ่นและภาพ น้ำเน่าเสีย จากผู้ประกอบการต่างๆ อาทิ โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ฯลฯ
-อากาศเสีย จากการก่อสร้างเนื่องมาจากการขยายตัวของแหล่งท่องเที่ยว

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม หมายถึง การประกอบกิจการ และบริการอาหารและเครื่องดื่ม แก่นักเดินทาง นักท่องเที่ยว หรือประชาชนทั่วไป โดยจัดเตรียมที่นั่งให้ผู้บริโภค ให้รับประทานอาหารในสถานที่ที่ให้บริการ หรืออาจให้บริการบรรจุอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภครับประทานที่อื่นได้

ประเภทธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
ธุรกิจอาหารจานด่วน (Fast-Food)

เน้นความสะดวกรวดเร็วราคาต่ำไม่บริการเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
และมีการเปิดให้บริการทุกวัน



ธุรกิจอาหารสำเร็จรูป
อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เนย แซนวิช สลัด เป็นต้น ที่นั่งมีจำกัด

ธุรกิจอาหาร Buffets(บุฟเฟ่ต์)

ลูกค้าบริการตัวเอง "All you can eat"(บริการในโรงแรม)







ธุรกิจอาหารประเภท Coffee Shop
เน้นบริการรวดเร็วให้บริการอาหารอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการ

ธุรกิจ Cafetarias
บริการตนเอง รายการอาหารมีจำกัด (ในห้าง แบบแลกคูปอง)

ธุรกิจอาหาร Gourmet Restaurants
บริการลูกค้าระดับสูง มีฐานะดี

ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ Ethnic Restaurants

เน้นบริการอาหารประจำท้องถิ่น หรือประจำชาติ

อาหารไทย(Thai Food)

ภาคกลาง
จะมีรสชาติผสมผสาน มีทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เครื่องเทศต่างๆ มักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร แบ่งออกเป็น

1. อาหารที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง เครื่องเทศ จากอินเดีย การผัดโดยใช้น้ำมันมาจากประเทศจีน ของหวานจำพวก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง มาจากโปรตุเกส เป็นต้น

2. อาหารที่ต้องใช้ความประณีตในการประดิษฐ์ อาทิเช่น การแกะสลักผักผลไม้ ขนมช่อม่วง ลูกชุบ ข้าวแช่

3. อาหารที่มีเครื่องเคียงของแนม อาทิ น้ำพริกต่างๆ น้ำปลาหวานสะเดา

4. อาหารว่างและขนม อาทิ กระทงทอง บัวลอย ขนมลืมกลืน ขนมขี้หนู ข้าวตังหน้าตั้ง ขนมสอดไส้ เป็นต้น

ภาคเหนือ



อาหารส่วนใหญ่จะยังคงใช้พืชตามป่าเขา หรือที่เพาะปลูกไว้มาปรุงอาหาร โดยมีแบบเฉพาะในการรับประทานเรียกว่า “ขันโตก” อาหารทางเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล เพราะความหวานจะได้จากพืชผักต่างๆ จากการต้ม การผัด
อาหารภาคเหนือที่รู้จักกัน อาทิ น้ำพริกหนุ่มมีเครื่องแนมคือแคบหมู ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงฮังเล ไข่มดส้ม เป็นต้น

ภาคใต้



อาหารหลักมักเป็นอาหารทะเล พวกกุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งโดยปกติจะมีกลิ่นคาว จึงมักใช้เครื่องเทศและขมิ้นเพื่อดับกลิ่น จึงมีรสเผ็ดร้อน เค็ม และเปรี้ยวไม่นิยมรสหวาน อาหารทางภาคใต้ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงไตปลา แกงเหลือง เป็นต้น




ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นิยมบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ สัตว์อื่นๆ ที่มีในธรรมชาติก็นำมาประกอบอาหารเช่นกัน อาทิ มดแดง ตั๊กแตน แมงดานา โดยทั่วไปอาหารจะมีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม จึงมีการถนอมอาหารในรูปแบบต่างๆ อาทิ ปลาร้า เนื้อเค็ม เป็นต้นอาหารที่เป็นที่นิยม อาทิ ส้มตำต่างๆ แกงอ่อม ต้มเปรอะ












































วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

องค์ประกอบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


ทรัพยากรการท่องเที่ยว

คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นได้


นิยามของแหล่งท่องเที่ยว

ดึงดูดใจให้ไปแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆเพื่อความพึงพอใจของเรา



ขอบเขตของแหล่งท่องเที่ยว

-จุดหมายหลัก = สถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถทำให้นักท่องเที่ยวอยู่ได้ช่วงเวลาหนึ่ง

-จุดหมายรอง= สถานที่แวะพักหรือเยี่ยมชมจะใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆ

ความคงทนถาวร
แบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยว

ประเภทที่มีความเป็นคงทนถาวร(แหล่งท่องเที่ยว)

งานเทศกาลมักมีช่วงเวลาของการดำเนินงาน เช่น สงกรานต์

ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน

เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์

แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ

เช่น ป่าไม้ ภูเขา น้ำตก ทะเล เกาะแก่ง

มรดกดลก5แห่งในประเทศไทย

1. ห้วยขาแข้ง

2. อุทยานสุโขทัย

3. อุทยานอยุธยา

4. โบราณคดีบ้านเชียง

5. ดงพญาเย็น-เขาใหญ่

แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น

คือ พวก ศาสนสถาน อนุสรณ์สถาน โบราณสถาน โบราณวัตุ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ

รายงานเรื่อง หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร

หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร


ความเป็นมาของหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
ประวัติความเป็นมา
ความคิดเรื่องการมีหอศิลป์สำหรับประชาชนในวงกว้าง เกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากในอดีตนโยบายภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนในการสนับสนุนงานด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจัง และเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาสติปัญญาอารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ สิ่งนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนวร่วมศิลปินไทยในการสร้างหอศิลปะร่วมสมัย เพื่อให้มีหอศิลป์ที่ทัดเทียมกับสากลและเป็นเกียรติศักดิ์ศรีกับประเทศ รวมทั้งเพื่อให้สังคมมีแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นทางเลือกเพื่อจรรโลงยกระดับจิตใจควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ หอศิลป์สำหรับประชาชนควรเป็นการลงทุนจากภาครัฐ โดยไม่แสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ เป็นการลงทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเช่นเดียวกับการสร้างสาธารณูปโภค การสร้างหอศิลป์เปรียบเป็นสาธารณูปโภคทางสมองิ หรือ softwareทางปัญญาที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการสร้าง hardware
การก่อสร้างหอศิลป์บริเวณย่านปทุมวันซึ่งเป็นแหล่งรวมของเยาวชนวัยรุ่น จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดพวกเขาให้หันมาสนใจและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรม ได้แสวงหาความรู้ความเข้าใจ ได้แสดงออก และพักผ่อนหย่อนใจในเวลาเดียวกัน
โครงการก่อการสร้างหอศิลป์ได้เริ่มขึ้นเมื่อดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯได้มีมติร่วมกับคณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9เมื่อปี 2538 ให้กรุงเทพมหานครจัดสร้างหอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานครณ สี่แยกปทุมวัน โดยมีรูปแบบที่ผ่านการคิดและการตัดสินใจร่วมกัน อย่างไรก็ตามโครงการต้องมาสดุดหยุดลงเมื่อนายสมัครสุนทรเวช เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อมา ในปี 2544 และล้มเลิกโครงการหอศิลป์ตามรูปแบบเดิมให้มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์มากขึ้นพร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงจากเดิมกรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงทุนมาเป็นให้เอกชนสร้างองค์กรด้านศิลปะ ศิลปิน อาจารย์ นักศึกษาและสื่อมวลชน ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมคัดค้านการระงับโครงการเดิม มีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครในสมัยนั้นทบทวนโครงการรวมทั้งการจัดกิจกรรมวาดภาพเขียนยาว 4 กิโลเมตร ในหัวข้อ ฉันเรียกร้องหอศิลป์ไม่เอาศูนย์การค้าิ การดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระงับโครงการฯ และการจัด "ART VOTE"
โหวตเพื่อหอศิลป์
กระทั่งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี 2547 เครือข่ายศิลปินและประชาชนจึงได้นำโครงการหอศิลป์เข้าหารือ และได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคริ ตามโครงการเดิม
นับเป็นเวลา 10 ปี หอศิลปฯ ต้องใช้เวลาเดินทาง ผ่านการผลักดันและรณรงค์อย่างเข้มข้น จนในที่สุด อาคารหอศิลปฯ ก็เกิดขึ้น ณ สี่แยกปทุมวัน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมศิลปะระหว่างกรุงเทพมหานครและเครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร การเดินทาง สู่การรับรู้ศิลปะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว อาคารงดงามแห่งนี้เป็นเสมือนจุดนัดพบทางปัญญา ศิลปะเป็นเรื่องเข้าถึงง่ายและชื่นชมง่าย ทุกคนสามารถมารวมตัวกันเพื่อร่วมกิจกรรมด้านศิลปะอันหลากหลาย นิทรรศการหมุนเวียน ดนตรี กวี ละคร ภาพยนตร์เสวนา และวรรณกรรม เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ นำไปสู่ความเจริญทางปัญญา สุขภาพทางใจ และการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ต่อไป

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
1. เป็นสถานที่ให้การศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมแก่ชุมชน และประชาชน
2. เป็นพื้นที่สำหรับการเชื่อมโยงทุนเดิมจากมรดกทางวัฒนธรรมเข้ากับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ให้เกิดองค์ความรู้หลากหลาย
3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่าย และระดมทรัพยากรในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และเป็นองค์กรส่งเสริม สร้างโอกาส ประสานการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างและพัฒนาระบบการบริหารจัดการหอศิลปฯ สู่ระดับมาตรฐานสากล
4. เป็นเวทีในการนำเสนอและบริหารจัดการ การแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
5. เป็นส่วนเสริมสร้างศักดิ์ศรีแก่กรุงเทพมหานคร สู่ความเป็นมหานครแห่งศิลปวัฒนธรรมระดับโลก
















หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
นิทรรศการและกิจกรรม

ชั้น1 โถง/ห้องเอนกประสงค์, นิทรรศการ “เกมดี ครั้งที่5”
วัน : วันที่6-7 สิงหาคม 2553
พิธีเปิดนิทรรสการ : วันที่6 สิงหาคม 2553
กระทรวงวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมมือกันขับเคลื่อนกิจกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยดำเนินกิจกรรมจัดนิทรรศการ เกมดี ครั้งที่5ขึ้น เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ในการขยายสื่อดีให้เพิ่มขึ้นในสังคม ซึ่งนิทรรศการครั้งนี้ เป้าหมายสำคัญคือแนะนำ พ่อ แม่ ผู้ปกครองให้รู้เท่าทันเด็กและสอนเด็กให้รู้เท่าทันเกม

ชั้นที่2 ห้องกระจก , นิทรรศการ “ผิวเผิน”
วัน : วันที่ 7-22 สิงหาคม 2553
พิธีเปิดนิทรรศการ: วันที่ 6 สิงหาคม 2553 เวลา 18.00น.
“ผิวเผิน” เป็นงานแสดงภาพถ่ายร่วมสมัยของศิลปินสิบเอ็ดคนเพื่อเดินทางไปมหานครนิวยอร์กเพื่องานวิจัยอิสระทางการถ่ายภาพของจุดต่างๆตามตัวเมืองต่างๆ ตามตัวเมืองนิวยอร์ก งานแสดงครั้งนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ทั้งเทคนิคการถ่ายรูปและการสัมผัสค้นหาประสบการณ์
แมนฮัตตันมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งมากเกินกว่าที่จะสามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ สิ่งที่ศิลปินทุกคนสามารถสัมผัสได้คือพื้นผิวที่ถูกปรับแต่งขึ้นมาทั้งทางด้านสังคมและทางกายภาพ
ศิลปินทั้งสิบเอ็ดคนประสบปัญหาในการเดินทางและการซึมซับประสบการณ์ในบลู๊คลิน และแมนฮัตตัน ศิลปินทั้งสิบเอ็ดคนใช้เวลาทั้งหมดสิบแปดคืนในการค้นหาและตรวจสอบจุดต่างๆ ตามเมืองเพื่อที่จะหาวิธีในการตอบโจทย์ที่พวกเขาได้สร้างขึ้นมาเพื่อที่พวกเขาจะได้เรียนรู้ถึงวิถีที่แตกต่างและเต็มไปด้วยความน่าสนใจของอเมริกา งานทั้งหมดที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของวิชาในภาคฤดูร้อนของภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น 3-4 ผนังโค้ง , นิทรรศการ “20 ปี 20 ศิลปิน”
วัน : วันที่ 3-15 สิงหาคม 2553
พิธีเปิดนิทรรสการ : วันที่3 สิงหาคม 2553 เวลา 18.00-21.00น.
จากอดีตสู่อนาคต ชื่นชมกับงานศิลปะร่วมสมัยใน 20ปีที่ผ่านมา และก้าวสู่อนาคตไปกับอักโกะอาร์ตแกลลอรี่และยี่สิบศิลปิน
พบกับการเวิร์คชอปการแกะสลักไม้กับศิลปิน ทัก อาทิยามา, เพลงโกโตะ ร่วมสมัยโดยนักดนตรีชาวญี่ปุ่น คุณโนริโกะ ชุโบอิ และ แสดงการแกะสลักแม่พิมพ์ไม้โดยคุณทัก อากิยามา

ชั้น4 นิทรรศการ “การปลดปล่อย”
วัน : วันที่ 3-13 สิงหาคม 2553
พิธีเปิดนิทรรศการ : วันที่ 4 สิงหาคม 2553 เวลา 18.30น.
“ความทรงจำและจิตใต้สำนึกที่ถูกฝังลึกอยู่ส่วนในสุดของจิตใจ ได้ถูกปิดและปลดปล่อยออกมา เศษเสี้ยวของความทรงจำต่างๆ หลุดลอยไปทั่วทิศทาง ความทรงจำและจิตใต้สำนึกเหล่านั้นหล่อหลอมและจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเปลี่ยนสถานภาพจาก นามธรรม กลายเป็นรูปธรรม”
นิทรรศการแสดงวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีที่4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเล้าธนบุรี จำนวน40ชิ้น ในคอนเซป Release , The การปลดปล่อยเนื้อหาส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น สามแบบหลักๆได้แก่ เนื้อหาที่พาดผิงถึงสังคม , เนื้อหาที่เกี่ยวกับความสนใจในตัวเอง , เนื้อหาที่เกี่ยวกับความทรงจำและจิตใต้สำนึก
ชั้น 7 นิทรรศการ “ไอคอนออฟดีไซน์ ฝรั่งเศส”
วัน: วันนี้ -22 สิงหาคม 2553
“ไอคอนดีไซน์ ฝรั่งเศส” รวบรวมผลงานการออกแบบฝรั่งเศสในศตวรรษที่20 กว่าสามสิบชิ้น ของ ฟิลลิป สตาร์ค , ฌอง พรูเว,ปิแยร์ โปแลง , โรนอง บูรูเลค, และ เลอ กอร์บูชิเย ผลงานการออกแบบฝรั่งเศสแต่ละชิ้นสะท้อนถึงพัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่โดดเด่นในแต่ละยุคสมัยซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศฝรั่งเศส เป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญทางด้านอุตสาหกรรม นิทรรศการชุด “ไอคอน ดีไซน์ สไตล์ฝรั่งเศส” แสดงผลงานออกแบบตั้งแต่รถยนต์ DS Citroen จนถึงเครื่องบิน Concorde ตลอดจนการออกแบบเก้าอี้ยาว LC4 ของ Le Corbusierกล่าวได้ว่า นิทรรศการชุดนี้ตอกย้ำและสะท้อนให้เห็นบทบาทสำคัญของการออกแบบของฝรั่งเศสในประวัติศาสตร์การออกแบบนานาชาติ

ชั้น 8 นิทรรศการ “ภูมินิทัศน์ วัฒนธรรม”
วัน: วันนี้-22 สิงหาคม 2553
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมจัดทำโครงการประกวดภาพถ่ายศิลปวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อนำเสนอกระบวนการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับทุนทางวัฒนธรรมและเพื่อกระตุ้นการสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายศิลปวัฒนธรรมและที่เป็นประโยชน์ในสาขาวิชาชีพการถ่ายภาพและกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลงานที่นำเสนอกว่า 200ภาพ เป็นภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และภาพถ่ายที่เข้ารอบจากภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้ ผลงานแต่ละภาพนำเสนอภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมที่หลากหลายภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย

ชั้น 9 นิทรรศการรวมพลังศิลปิน เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ “ฝันถึงสันติภาพ”
วัน : วันนี้ -22 สิงหาคม 2553
ด้วยความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของประชาชนในชาติ นิทรรศการฝันถึงสันติภาพ รวมพลังจากศิลปินและนักออกแบบร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานภายใต้แนวคิดในการเยียวยาจิตใจ และตีความจากแง่มุมที่หลากหลายสะท้อนภาวะสถานการณ์ปัจจุบันในเชิงสร้างสรรค์
กระทรวงวัฒนธรรมตระหนักถึงความสำคัญของการเยียวยาจิตใจของคนในชาติ การกอบกู้ภาพลักษณ์ และการฟื้นฟูประเทศ ด้วยการแสดงออกถึงความต้องการสันติภาพในสังคมตามมุมมองของศิลปิน นักคิดสร้างสรรค์ นักแสดง นักร้อง ผู้สร้างภาพยนตร์อิสระ และนักวิชาการ โดยเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ออกแบบงานศิลปะเพื่อสร้างสันติภาพ และสมานฉันท์ในพื้นที่ที่ได้รับผลลกระทบ อาทิ บริเวณห้างเซ็นทัลเวิล์ด สี่แยกราชประสงค์ ถนนเพลินจิต สี่แยกคอกวัว เป็นต้น การบริการออกแบบภูมิทัศน์ ป้ายชื่อร้าน ป้ายโฆษณา ให้ผู้ได้รับผลกระทบโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายของกลุ่มศิลปินและสมาคมกราฟฟิกแห่งประเทศไทย

ปัญหาที่ไป
1. ปัญหาที่เกิดจากการจราจรติดขัด
2. ปัญหาที่เกิดจากมีฝนตกทำให้เดินทางไม่สะดวก
3. มีผู้คนจำนวนมากทำให้รู้สึกว่าอึดอัด
ของที่ระลึก
1. โปสเตอร์
2. โปสการ์ด
3. ภาพวาด(การวาดภาพเหมือน)
4. รูปภาพ

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย

395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย


บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโตเรื่อง “Pérégrinação”ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ จนมีการใช้ชื่อของปินโตบันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส
“Pérégrinação หรือ Pérégrinaçam” แปลว่า “long tour,long travels” ตรงกับคำว่า “Peregrination“ หรือ “Pilgrimage” หมายถึง การเดินทางการท่องเที่ยว หรือการเดินทางแสวงบุญอย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์และผู้อ่านจำนวนไม่น้อยกลับมีความสงสัยต่อความเก่งกล้าสามารถของปินโต บางคนประนามว่างานเขียนของเขาเป็นเรื่องโกหกเพื่อความมีชื่อเสียงของตน

ประวัติของปินโต

ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนาเขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนักปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583 หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1และทรงเป็นกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา
บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชเมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548 (พ.ศ.2091) ปินโต กล่าวว่า
“ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่น
สัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....”
เรื่องราวในหนังสือ Pérégrinação สอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน อาทิ การกล่าวถึง โดมิงกุส ดึ ไซซัส (Domingos de Seisus) ซึ่งเคยถูกจองจำและรับราชการเป็นนายทหารในกรุงศรีอยุธยา (กรมวิชาการ , 2531: 109) ก็ได้รับการยืนยันในงานเขียนของจูอาว เดอ บารอส (João de Baros) เช่นกัน (กรมวิชาการ,2531 : 95) เป็นต้น
งานเขียนปินโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดต่อกับบุคคล และปินโตยังยืนยันว่าเขาได้รับจดหมายฝากฝัง (recommended letter) จากผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัว (Goa) เพื่อให้ได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งโปรตุเกส (Cogan,1653 : 317) แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการอ้างอิงพยานบุคคลของเขา
ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์แต่ต่อมานักประวัติศาสตร์บางท่านก็เคยตั้งข้อสงสัยต่อสถานภาพดังกล่าว (นิธิ, 2525 : 6) ซึ่งถือเป็นความไม่เที่ยงของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในทางกลับกันอาจจะมีผู้ใช้บันทึกของปินโตมาตรวจสอบความแม่นยำของเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งอย่างจริงจังในอนาคตบ้างก็ได้

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนวโน้มจูงใจของนักท่องเที่ยว10ประการ

แนวโน้มจูงใจของนักท่องเที่ยว10ประการ

1. แรงจูงใจจะได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มรดกโลก แบ่งเป้น น้ำเงิน (ทะเล) สิ่งแวดล้อมสีเขียว (น้ำตก,ป่าเขา)


2. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น (Bag Packer)


3. แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน


4. แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว


5. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย


6. แรงจูงใจจะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ


7. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี


8. แรงจุงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย


9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม


10. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง


วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว

วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว
อาณาจักร บาบิโลน ( Babylonian Kingdom) และ อาณาจักรอิยิปต์ ( Egyptian Kingdom)
การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ ( Historic Antiquities) 2600 ปีมาแล้วในอาณาจักรบาบิโลน
มีการจัดงานเทศกาลทางด้านศาสนา
จักรวรรดิกรีกและจักรวรรดิโรมัน
ลักษณะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวสมัยกรีก
เป็นการปกครองแบบนครรัฐ (City State) ทำให้ไม่มีผู้นำสั่งการให้สร้างถนน จึงนิยมเดินทางทางเรือ
สถานที่ที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้า
เดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ เนื่องจากสมัยกรีกนี้มีนักปราชญ์เป็นจำนวนมาก อาทิ อริสโตเติล พลาโต โซเครติส
สมัยโรมัน
ได้รวบรวมจักรวรรดิกรีก เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร และได้นำเอาวัฒนธรรม ธรรมเนียม ความหรูหราต่างๆ ไปพัฒนาเป็นแบบโรมัน
-สมัยโรมันเป็นสมัยที่การท่องเที่ยวรุ่งเรืองที่สุดในยุคโบราณ จนมีนักวิชาการปัจจุบัน กล่าวว่า “ แม้ว่าชาวโรมันจะมิใช่ชาติแรกที่เดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เพื่อความเพลิดเพลินก็ตาม แต่ชาวโรมันก็เป็นชนชาติแรกที่แท้จริงที่สร้างวัฒนธรรมการท่องเที่ยวระบบมวลชนเป็นครั้งแรก” (Mass Tourism)

สิ่งก่อสร้างที่มีความงดงามในยุคโบราณ หรือ เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ


1. สวนลอยบาบิโลน








Hanging Gardens of Babylon จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่บนแม่น้ำยูเฟรติส ประเทศอิรักในปัจจุบัน สร้างโดยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 แห่งกรุงบาบิโลเนีย สร้างให้แก่มเหสีของพระองค์ สร้างขึ้นเมื่อ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช สุงประมาณ 75 ฟุต กินพื้นที่ 400 ตารางฟุต ระเบียงทุกชั้นได้รับการตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนพุ่มชนิดต่างๆ มีระบบชลประทานชักน้ำจากแม่น้ำไปเลี้ยงต้นไม้ตลอดปี ปัจจุบันสวนนี้ได้พังทลายไปหมดแล้ว

2. มหาพีระมิดแห่งกีซา (The Great Pyramid of Giza)

ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ในประเทศอียิปต์ ห่างจากกรุงไคโรประมาณ 10 ไมล์ และทางตอนใต้ของมหาพีระมิด จะเห็น The Sphinx ตั้งตระหง่านอยู่มหาพีระมิดแห่งกีซา เป็นพีระมิดที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดของอียิปต์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พีระมิดคูฟู ตามพระนามขององค์ฟาโรห์คูฟู (Khufu) ผู้ก่อสร้างมหาพีระมิด เมื่อประมาณ 2,600 ปีก่อนคริตส์กาล หรือกว่า 4,600 ปีมาแล้วนั่นเอง ฟาโรห์คูฟู เป็นฟาโรห์องค์ที่สอง ของราชวงค์ที่สี่ที่ปกครองอียิปต์ พระองค์มีอีกพระนามหนึ่งว่า "Cheops" การสร้างมหาพีระมิดของอียิปต์โบราณ เพื่อใช้เป็นที่เก็บรักษาพระศพ ไว้รอการกลับคืนพระชีพ ตามความเชื่อในยุคนั้น



3. เทวรูปเทพเจ้าซีอุส (Statue of Zeus)
ตามตำนานของกรีก เกี่ยวกับเทพเจ้า เทพเจ้าเซอุส เป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้า และเป็น The King of the gods ปกครอง Olympus มีชายาคือ Hera ท่านมีลูกหลายคนเทวรูปเทพเจ้าเซอุส สร้างโดยช่างแกะสลักชาวกรีก ชื่อ Pheidias เมื่อประมาณ 500 ปี ก่อนคริตส์กาล รูปปั้นมีความสูงถึง 40 ฟุต สร้างพร้อมวิหาร ซึ่งต่อมาถูกทำลายหมด จากทั้งไฟไหม้ น้ำท่วม และแผ่นดินไหว และในปี ค.ศ. 1954-1958 ก็มีการค้นพบ สถานที่ ซึ่ง Pheidias ใช้ในการสร้างเทวรูปเซอุส

4. เทวรูปเฮลีออส แห่งโรดส์ (Colossus of Rhodes)




หากยังคงมีอยู่ ก็จะเป็นเทวรูปที่สูงมาก ตั้งอยู่ที่อ่าวในทะเลเอเจียน (Aegean sea) ต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในประเทศกรีก เป็นรูปสำริดขนาดใหญ่ของเทพแห่งพระอาทิตย์ (Helios) สูงประมาณ 32 เมตร ใช้เวลาสร้างถึง 12 ปี แล้วเสร็จในช่วง 282 ก่อนคริตส์กาล แต่ก็ถูกทำลายเพราะแผ่นดินไหว หลังการสร้างเพียง 60 ปี ปัจจุบันก็ไม่เหลือซากให้เห็นอีกเหมือนกัน




5. ประภาคารฟาโรห์ แห่งอะเล็กซานเดรีย (Light House of Alexandria)






ที่เมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ก่อสร้างเมื่อประมาณ 280 ก่อนคริตส์กาล มีความสูง 134 เมตร เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้น 3 ครั้ง ทำให้ประภาคารถูกทำลาย ไม่หลงเหลือซาก เช่นเดียวกัน





6. ที่บรรจุศพแห่งมอสโซลอส ที่ฮาลิคาร์นัสซัส (Mausoleum at Halicarnassus)
ตั้งอยู่ที่เมือง Bodrum ริมทะเลเอเจียนในทางตะวันตกเฉียงใต้ของตุรกี ไม่ไกลมากนักกับวิหาร Artemis สร้างขึ้นโดยพระราชินีอาร์เทมิเซีย (Artemisia) เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่กษัตริย์มอโซลุส (Mausolus) ซึ่งสวรรคตเมื่อ 353 ปีก่อนคริตส์กาล และถูกทำลายเพราะแผ่นดินไหว เมื่อศตวรรษที่ 16

7. วิหารไดอานา หรือ อาร์เทมีส (Temple of Artemis)

ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของตุรกีในปัจจุบัน ดินแดนแห่งนี้ เมื่อสมัยโบราณถูกเรียกว่า Ephesus ตัววิหารสร้างประมาณ 500 ปี ก่อนคริตส์กาล โดยใช้เวลาก่อสร้างนาน 120 ปี เป็นวิหารที่สร้างขึ้นด้วยฝีมือของบรรดาสถาปัตย์ชื่อ Chersiphorn และบุตรชายของเขา Metagenes ซึ่งมีการสร้างรูปปั้นไว้ภายใน ด้วยสถาปัตย์หลายคน ทั้งนี้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงอาร์เทมีส (Artemis) เทพีคู่แฝดของเทพ Apollo ซึ่งเชื่อว่าท่านมาจากสวรรค์ มากอบกู้ความหายนะของเมืองไว้ได้ถึง 2 ครั้ง เทพี Artemis เชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับเทพี Diana ของชาวโรมันและอีตาเลียน ตัววิหารมีความยาว 150 เมตร กว้าง 50 เมตร ทำด้วยหินอ่อนทั้งหลัง ยกเว้นส่วนที่เป็นหลังคา ภายหลังถูกทำลายโดยพวก Goths


สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางและยุคฟื้นฟู
1. โคลอสเซียม (Colosseum)
สนามกีฬา กรุงโรม ประเทศอิตาลี สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิ Vespasian เมื่อปี ค.ศ. 72 หรือเกือบ 2,000 ปีมาแล้ว นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่สมกับสมัยอาณาจักรโรมันที่รุ่งเรือง เป็นอัฒจรรย์ที่บรรจุคนได้ถึง 50,000 คน เลยทีเดียว และมีช่องทางเข้าออกถึง 80 ทาง อัฒจรรย์เป็นรูปวงกลม ก่อด้วยอิฐและหินทราย วัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร โคลอสเซียม ก่อสร้างมาและใช้สำหรับการแข่ง gladiator ที่รู้จักกันดี ต่อมาก็ถูกใช้ประโยชน์เกี่ยวกับศาสนาคริตส์ นิการโรมันคาโธลิกบ้าง





2. สโตนเฮนจ์ (Stonehenge)
ในอังกฤษ เป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ จำนวน 112 ก้อน ตั้งอยู่กลางทุ่งราบซัลลิสเบอร์รี่ ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ โดยลักษณะของการเรียงจะถูกวางซ้อนกัน 3 วง ดังรูป มีทั้งที่วางในแนวตั้ง แนวนอน และวางซ้อนกัน เชื่อกันว่า น่าจะมีอายุมานานกว่า 5,000 ปี จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักดาราศาสตร์ ต่างพากันสงสัยว่า ในสมัยนั้น จะสามารถเคลื่อนย้ายก้อนหินใหญ่ ๆ มาวางเรียงกันกลางทุ่งราบได้อย่างไร เพราะสถานที่ที่พบว่าน่าจะเป็นแหล่งที่มาของก้อนหินได้ คือบริเวณทุ่งมาล์โบโร นั้นก็อยู่ห่างออกไปถึง 40 กิโลเมตร





3. สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย




มีชื่อเรียกว่า คาตาโกมบ์ ซึ่งไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง ลักษณะของหลุมฝังศพไม่เหมือนกับปิรามิดคือจัดสร้างเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ขุดลึกเข้าไปในภูเขาหินทราย ทำเป็นชั้นๆและมีช่องทางเดินวกเวียนไปมาเป็นระยะทางหลายไมล์ ภายในอุโมงค์บางตอนตกแต่งอย่างสวยงาม






4. สุเหร่าเซ็นท์โซเฟีย


เดิมจักรพรรดิคอนสแตนติน เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นโบสถ์ประกอบพิธีของคริสต์ศาสนา ใช้เวลาก่อสร้าง 17 ปี ต่อมาพระเจ้าโมฮัมเหม็ดที่ 2 ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้ดัดแปลงโบสถ์นี้เป็นสุเหร่าอิสลาม แต่ได้คงรูปแบบเดิมไว้ และได้เพิ่มเติมศิลปะอิสลามเข้าไปทำให้กลายเป็นศิลปะคริสเตียน ผสมกับศิลปะอิสลามงดงามมาก สุเหร่าเซ็นโซเฟีย มีเนื้อที่ประมาณ 700 ตารางเมตร ภายในมีเสาค้ำสลักลวดลายประดับไว้อย่างงดงาม จำนวน 180 ต้น ชั้นล่างเป็นเสาขนาดใหญ่ 40 ต้น และชั้นบนเป็นขนาดเล็ก 68 ต้น หลังคาเป็นรูปโดมแบน มีหอล้อมรอบจำนวนมาก ปัจจุบันสุเหร่าเซ็นโซเฟีย
5. เจดีย์กระเบื้องเคลือบนานกิง เดิมมีเพียง 3 ชั้น ต่อมาประมาณ ค.ศ.1430 สมัยจักรพรรดิยุ่งโล้ แห่งราชวงศ์หมิง ได้รับสั่งให้สร้างเพิ่มขึ้นอีก 6 ชั้น มีสายโซ่โยงมา 8 เส้น ติดกระดิ่งแขวนตามโซ่อีก 72 ลูก ลักษณะของเจดีย์แห่งนี้จึงเป็นเจดีย์สูง 9 ชั้น แปดเหลี่ยม สูง 261 ฟุต หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียวทั้งหมด ชายคามีกระดิ่งแขวนไว้ 80 ลูก มีโคมไฟประดับอีกจำนวนมาก เจดีย์ก่อด้วยอิฐประดับกระเบื้องเคลือบ ยอดเจดีย์เป็นรูปกลมปิดทอง ต่อมาในปี ค.ศ.1853 กบฏไต้เผง ได้เข้าไปทำลายเจดีย์กระเบื้องเคลือบนี้ เครื่องบูชา และของมีค่าภายในเจดีย์ ถูกพวกกบฏไต้เผงกวาดไปหมด ปัจจุบันไม่งดงามเหมือนเก่า
6.หอเอนเมืองปีซ่า สร้างด้วยหินอ่อน สูง 181 ฟุต มี 8 ชั้นโดยเริ่มสร้างเมื่อ ค.ศ.1174 เสร็จเมื่อ ค.ศ.1350 ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 176 ปี สำหรับหอเอนปิซานี้ ภายในมีเสาหินอ่อนทีสลักลวดลายด้วยฝีมือจิตรกรชื่อดังแห่งยุคได้สลักลวดลายไว้สวยงามมาก ส่วนสาเหตุที่เอียงนั้นเกิดขึ้นหลังจากเมื่อสร้างเสร็จแล้ว ฐานได้ทรุดไปข้างหนึ่ง เมื่อวัดดูปรากฏว่าเอียงออกจากแนวดิ่งของฐานถึง 14 ฟุต แต่ก็ยังไม่ล้ม ยังคงเอียงอยู่เช่นทุกวันนี้ ณ ที่หอเอนปิซาแห่งนี้เป็นที่ที่กาลิเลโอ ขึ้นไปทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแรงดึงดูดของโลก
7. กำแพงเมืองจีน เป็นกำแพงที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยาวที่สุดในโลก สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชิ วั่ง ตี่ หรือจักรพรรดิจิ๋นซี ที่ยิ่งใหญ่ของจีน ได้คิดสร้างกำแพงนี้ เพื่อเป็นรั้วกั้นพรมแดนทางด้านเหนือของประเทศของจีน เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกตาด พระองค์จึงได้เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.300-329 โดยใช้แรงงานจากราษฎรนับล้านคน และมีคนล้มตายเป็นจำนวนมาก ลักษณะสำคัญของกำแพงเมืองจีน คือ เป็นกำแพงอิฐ ยาวประมาณ 1,500 ไมล์ ( 2,400 กิโลเมตร ) กำแพงหนา 15-25 ฟุต บนกำแพงมีทางเดินกว้าง 10 ฟุต ตัวกำแพงสูง 25-30 ฟุต บนกำแพงทุกๆ 30 ฟุตจะมีหอหรือป้อมตรวจการ 10-20 ฟุต ตลอดแนวกำแพงมีป้อมถึง 15,000 ป้อม มีระฆังแขวนบอกเหตุอีกประมาณ 20,000 กว่าหอ ปัจจุบันกำแพงเมืองจีนได้รับการปรับปรุงจากรัฐบาลจีน เพื่อเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว

สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19
สังคมเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรรมมีการพัฒนาประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ กับเรือกลไฟแบบกังหันข้างผสมใบ ทำให้เกิดการเดินทางได้เร็วขึ้น
-มีการพัฒนากิจการรถไฟ และในปี ค.ศ. 1841 โทมัส คุก ( Thomas Cook) ได้จัดนำเที่ยวทางรถไฟแบบครบวงจรเป็นครั้งแรก ที่อังกฤษ ในขณะที่ เฮนรี เวลส์ ก็จัดกิจการนำเที่ยวขึ้นในอเมริกาเช่นกัน
มาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการล่าอาณานิคมขึ้น
ยุคศตวรรษที่ 20
การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความสะดวกสบายมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ที่พักแรม เงินตรา เอกสารการเดินทาง
ผู้คนหันมานิยมการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น
1. นครวัด สร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในรัชสมัย พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งครองราชย์อยู่ในช่วง พ.ศ. 1650-1693 ซึ่งขณะนั้นศาสนาพราหมณ์ นิกายไวษณพนิกาย (นับถือ พระวิษณุเป็นใหญ่) กำลัง รุ่งเรืองอยู่ในอาณาจักรขอมพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 จึงโปรดให้สร้างนครวัด เพื่อบูชาพระวิษณุ และนอกจากนั้นแล้ว ก็เพื่อให้เป็นที่ เก็บพระศพของพระองค์ เมื่อยามสิ้นพระชนม์แล้วด้วย ดังนั้น นครวัด จึงแตกต่างกับปราสาทอื่นๆ ตรงที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศของผู้ตาย แทนทิศตะวันออก ตามธรรมเนียมของขอม จะมีการตั้งพระนามใหม่ ถวายกับกษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 นั้นมีพระนามหลังสิ้นพระชนม์ว่า "บรมวิษณุ" นครวัด จึงมีอีกชื่อว่า "บรมวิษณุมหาปราสาท"
2. สะพานโกลเดนเกต (อังกฤษ: Golden Gate Bridge) ทอดยาวข้ามอ่าวตอนเหนือของเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาสร้างในสมัยประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ เมื่อปี ค.ศ. 1933 เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1937 ตอนกลางสะพานยาว 1,280 เมตร กว้าง 27 เมตร สูงกว่าระดับน้ำทะเล 67 เมตร มีทางรถยนต์ 6 ทาง รถบรรทุก 3 ทาง รถไฟ 2 ทาง ใช้งบประมาณก่อสร้างราว 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สะพานโกลเดนเกตกลายเป็นสถานที่ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก เมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ สะพานกลายเป็นสัญลักษณ์ของสหรัฐอเมริกาไปโดยปริยาย ปัจจุบันนี้เองผู้คนทั่วโลกเองก็ยังคงรู้จักสะพานโกลเดนเกตและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกา และจากผลการสำรวจสถานที่ที่น่าประทับใจของสถาบันสถาปนิกอเมริกัน พบว่าอยู่ในอันดับที่ 5 ของสถานที่ต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา
3. พระราชวังแวร์ซายส์ (Palace of Versailles)
ตั้งอยู่ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชวังที่สวยงามมากสร้างขึ้นโดย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส มีนายช่างสถาปนิก อัลเดรด เลอ นอสเตอร์ เป็นผู้ออกแบบ ลงมือสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) สร้างอยู่นาน เวลา 30 ปี สิ้นเงินค่าสร้าง 500,000,000 ฟรังก์ ใช้คนงาน 30,000 คน ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างและศิลปกรรมก่อสร้างที่งดงามมาก
4. เขื่อนฮูเวอร์ (Hoover Dam) : เขื่อนยักษ์แห่งแรกของอเมริกา
เป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2474-2479 ขวางกั้นแม่น้ำโคโลราโด บริเวณหุบเขาแบล็คแคนยอน สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการป้องกันอุทกภัยของพื้นที่ ใต้เขื่อนในช่วงฤดูหนาว และเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

5. Taj Mahal (ทัชมาฮาล)เป็นอนุสาวรีย์แห่งความรักอันยิ่งใหญ่ของโลก ซึ่งพระเจ้าชาห์เยฮัน แห่งเมืองอัคระประเทศอินเดีย สร้างเป็นสุสานฝังศพของ พระนาง มุมทัชมาฮาล ราชินีอันเป็นที่รักยิ่ง สร้างขึ้นริมฝั่งแม่น้ำยมนา ในปี พ.ศ. 2173 ใช้เวลาก่อสร้างถึง 23 ปีจึงแล้วเสร็จ ทุกส่วนสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวนวลตามแบบสถาปัตยกรรมเปอร์ เซีย โดยฝีมือของสถาปนิก อัสตาด ไอสา ( USTAD ISA ) ใช้เงินก่อสร้างทั้งสิ้นถึง 50,000,000 เหรียญอเมริ กัน ภายในประดับด้วยหินอ่อนสลักฉลุเป็นลวดลายวิจิตรตระการตาแทรกเสริมด้วยทับทิม และนิลตรงกลาง
6. เรือควีนแมรี่

สถานที่ตั้ง เมืองลองบีช ประเทศสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้เรือเดินสมุทร "ควีนแมรี่"ของอังกฤษลำนี้สร้างบนฝั่งแม่น้ำไคลด์ในประเทศสกอตแลนด์ หนักทั้งสิ้น 80,773 ตัน มีความยาว 300 เมตร สูง 54 เมตร เครื่องยนต์ขับเคลื่อนมีกำลังทั้งหมด 200,000 แรงม้า อัตราความเร็วชั่วโมงละ 30 นอต มีหม้อน้ำขนาดใหญ่ต้มน้ำ 400 ตันให้เดือดอยู่ทุกๆชั่วโมง บรรจุคนได้ประมาณ 2,000 คน บนดาดฟ้ามีที่ว่างทำสนามเล่นกีฬาได้ถึง 3 เอเคอร์ ภายในเรือมีร้านขายอาหาร สนามเด็กเล่น สำนักพิมพ์ เครื่องอำนวยความสะดวกครบครันเคยทำสถิติความเร็วโดยได้เดินทางจากเมืองท่าลิเวอร์พูล อังกฤษถึงเมืองท่านิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาในเวลา 9 วัน
วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของไทย
สมัยสุโขทัย
-การเดินทางเป็นไปอย่างอิสรเสรี โดยส่วนมากเป็นไปเพื่อการค้าขาย และทางศาสนา
-ส่วนมากเป็นการเดินทางภายในประเทศเท่านั้น
-สมัยอยุธยา
-เนื่องจากเป็นอาณาจักรใหญ่ และระบบสังคมเป็นแบบ ศักดินา ผู้คนไม่ค่อยมีอิสระในการเดินทางมากนัก นอกจากไปเพื่อการค้าเล็กๆ น้อย ส่วนด้านการเดินทางเพื่อการพักผ่อน ไม่ค่อยปรากฏ เพราะประชาชนส่วนมามีเวลาว่างไม่มากนัก มักจะอยู่กับบ้านมากกว่า
กลุ่มคนที่มีการเดินทางในสมัยอยุธยา มักจะเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในชนชั้นปกครอง ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาขุนนางทั้งหลาย ในบางครั้งอาจจะมีไพร่ทาสติดตามไปเพื่อรับใช้เช่นกัน
ผลจากการเข้ามาของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา
ทำให้เกิดความเป็นนานาชาติในพระนครศรีอยุธยามากขึ้น ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ทั้งของตะวันตก และของไทย ที่น่าสนใจคือ มีบันทึกการเดินทางของชาวตะวันตกที่เขียนเอาไว้เกี่ยวกับ ชีวิตความเป็นอยู่ การเดินทาง สถานที่ต่างๆ ในอาณาจักรอยุธยา แล้วนำกลับไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่ตะวันตก ก่อให้เกิดการเดินทางเข้ามายังเอเชีย และอยุธยา มากขึ้น ในฐานะที่อยุธยาเป็นดินแดนของสินค้าของป่า เครื่องเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถสร้างกำไรให้มหาศาลแก่พ่อค้าชาวตะวันตก กล่าวได้ว่าอาณาจักรอยุธยา รุ่งเรืองมากทั้งทางด้านศิลปวิทยากร วัฒนธรรม ประเพณี บ้านเมืองร่ำรวย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
หลังสมัยสมเด็จพระนารายณ์ การค้าขายติดต่อกับชาติตะวันตกลดน้อยลง หันไปค้าขายกับจีนมากขึ้น และพยายามพัฒนาบ้านเมืองให้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการส่งสมณทูตไปเผยแผ่ศาสนาโดยทั่วไป ที่สำคัญคือ เคยมีการส่งคณะสมณทูตไปยังลังกาทวีป และในลังกาเรียกนิกายสงฆ์ของตนว่า สยามวงศ์อีกด้วย
สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
เป็นความพยายามของพระมหากษัตริย์ทั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ที่พยายามจะทำฟื้นฟูความเป็นอยุธยาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จะพบว่า โครงสร้างของบ้านเมือง ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ จะคล้ายกับในสมัยอยุธยา
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
สมัยรัชกาลที่สอง ทรงทำนุบำรุงทางด้านศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาด้านการค้าระหว่างประเทศ
สมัยรัชกาลที่สาม บ้านเมืองเปิดการค้าขายกับต่างชาติ มากขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คล้าย ๆ กับสมัยของสมเด็จพระนารายณ์
สมัยรัชกาลที่สี่ ทรงพยายามทำให้บ้านเมืองมีความทันสมัยตามแบบตะวันตก
สมัยรัชกาลที่ห้า ทรงปรับปรุงบ้านเมืองในทุกๆ ด้าน มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งต่างประเทศหลายครั้ง ในยุคนี้มีการสร้างทางรถไฟ เรือกลไฟ นับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญทางการท่องเที่ยว มีการเลิกทาส เลิกไพร่
สมัยรัชกาลที่หก มีการปรับปรุงสายการเดินรถไฟ มีการสร้างถนนหนทางเพื่อประโยชน์ในทางการสงคราม ตลอดจนการสร้างโรงแรมอีกด้วย
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
สมัยรัชกาลที่เจ็ด เนื่องจากสภาวะบ้านเมืองไม่อยู่ในความสงบและพระองค์ก็มีพระพลานามัยที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก จึงมีการเสด็จประทับตากอากาศบ่อยครั้ง โดยเฉพาะที่หัวหิน ทำให้มีการสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพ-หัวหิน เพื่อส่งเสริมการพักตากอากาศอีกด้วย
สมัยรัชกาลที่แปด-ปัจจุบัน
เนื่องจากเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย เปลี่ยนอำนาจการบริหารประเทศมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี รัฐบาลจอมพล ป. ให้มีการสร้างโรงแรมขึ้นอีก 3 แห่งเพื่อต้อนรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รูปแบบของการท่องเที่ยวเพื่อความสนใจ






รูปแบบของการท่องเที่ยวเพื่อความสนใจ

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

คำว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นศัพท์บัญญัติที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยให้มีความหมายตรงกับคำว่า Ecotourism ในภาษาอังกฤษ ศัพท์บัญญัตินี้ได้รับความเห็นชอบจากราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบัญญัติศัพท์แล้ว
Ecotourism เป็นคำที่เกิดใหม่ในวงการ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยนำคำ ๒ คำมารวมกัน ได้แก่ eco และ tourism คำว่า eco แปลตามรูปศัพท์ว่า บ้านหรือที่อยู่อาศัย ส่วน tourism แปลว่า การท่องเที่ยว ecotourism จึงแปลว่า การท่องเที่ยวเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย หมายความถึง การท่องเที่ยวที่เน้นในด้านสิ่งแวดล้อมอันเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์
ส่วนคำว่า นิเวศ ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤตที่นำมาใช้ในภาษาไทย ก็แปลว่า บ้านหรือที่อยู่อาศัยเช่นกัน (ดูพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) ฉะนั้น การท่องเที่ยว เชิงนิเวศจึงเป็นศัพท์บัญญัติที่มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม
นอกจากคำว่า ecotourism แล้ว ยังมีคำอื่นๆที่มีความหมายใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้อง กันอีกหลายคำ ได้แก่ green tourism แปลว่า การท่องเที่ยวสีเขียว หมายถึง การท่องเที่ยวสถานที่ทางธรรมชาติ โดยสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ biotourism แปลว่า การท่องเที่ยวเชิงชีวภาพ ซึ่งหมายถึง การท่องเที่ยวที่เน้นการศึกษาสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ และ agrotourism แปลว่า การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นในด้านเกษตรกรรม เพื่อให้เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของพืชผลไร่นา และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร

การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม

การท่องเที่ยวนับเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ได้นำเอาวัฒนธรรมมาเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันและยุโรป ที่ต่างสนใจที่จะเรียนรู้วัฒนธรรม มรดกทางประวัติศาสตร์ เยี่ยมชมงานสถาปัตยกรรม และสัมผัสวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในประเทศนั้น โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียและแอฟริกา รวมถึงซื้อของที่ระลึกที่เป็นงานหัตถกรรมละงานฝีมือที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในประเทศนั้น การท่องเที่ยวในลักษณะดังกล่าวเราเรียกว่า การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

การท่องเที่ยวแบบไหนถึงจัดเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
หลายคนอาจจะสงสัยว่า การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมควรจะครอบคลุมถึงเรื่องอะไรบ้าง บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา ( 2548) ได้อธิบายว่าการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมประกอบด้วย
1. ประวัติศาสตร์และร่องรอยทางประวัติศาสตร์
2. โบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
3. งานสถาปัตยกรรมเก่าแก่ดั้งเดิม
4. ศิลปะ หัตถกรรม ประติมากรรม ภาพวาด รูปปั้นและแกะสลัก
5. ศาสนารวมถึงพิธีกรรมต่างๆทางศาสนา
6. ดนตรี การแสดงละคร ภาพยนตร์
7. ภาษาและวรรณกรรม
8. วิถีชีวิต เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย อาหาร
9. ประเพณี วัฒนธรรมพื้นบ้าน เทศกาลต่างๆ
10. ลักษณะงานและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้เฉพาะท้องถิ่น
การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา
การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา หมายถึงบุคคลที่เดินทางไปศึกษาหรือทำวิจัยในด้านสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา ซึ่งพักอาศัยอยู่ในสถานที่ศึกษานั้น ๆ เป็นเวลานาน ซึ่งในช่วงพักหรือหยุดก็จะกลายเป็นนักท่องเที่ยวไปโดยปริยาย
การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธ์

ความพยายามของมนุษย์ที่จะแยกแยะความแตกต่างทางวัฒนธรรมมีมานานแล้ว ในระยะแรกๆนั้น มักจะแยกแยะกันตามลักษณะรูปธรรมของวัฒนะรรมที่มองเห็นได้ชัดเจน เช่น ความแตกต่างของภาษาพูดบ้าง เครื่องแต่งกายบ้าง และวิธีการดำรงชีวิตบ้าง แต่หลังจากลัทธิล่าอาณานิคมได้ขยายตัวออกไปทั่วโลก ชาวยุโรปตะวันตกได้เริ่มใช้ อคติทางชาติพันธุ์ (Ethnocentrism)มาเป็นพื้นฐานในการแยกแยะความแตกต่างทางวัฒนธรรมมากขึ้น ด้วยการจัดแบ่งประชากรในโลกออกเป็น เชื้อชาติตามสีผิว (Race) ซึ่งแฝงนัยของลำดับชั้นของความยิ่งใหญ่ไว้ด้วย เพราะมักจะจัดให้ชาวผิวขาวของตนเองนั้นเป็นเชื้อชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ส่วนชาวสีผิวอื่นๆก็จะลดลำดับความสำคัญรองๆลงมา แต่ชาวผิวสีดำจะถูกจัดให้อยู่ในลำดับต่ำที่สุดในระยะต่อๆมา การจัดลำดับเช่นนี้ก็ถูกทำให้เป็นจริงเป็นจังมากขึ้นเรื่อยๆ จนยึดถือกันเสมือนว่าเป็นจริงตามธรรมชาติ โดยไม่มีการตั้งคำถามใดๆทั้งตัวเหยื่อเองและผู้ได้รับประโยชน์จากการจัด ลำดับเช่นนี้ ในที่สุดก็ก่อให้เกิดลัทธินิยมเชื้อชาติตามสีผิวอย่างบ้าคลั่งหรือ ลัทธิเหยียดสีผิว (Racism) ซึ่งเป็นสาเหตุของโศกนาฏกรรมในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นมาจนนับ ครั้งไม่ถ้วนในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา นักมานุษยวิทยาคนสำคัญของอเมริกาคือ Franz Boas ได้ค้นพบจากการวิจัยจำนวนมากว่า สายพันธุ์ทางชีววิทยากับวัฒนธรรมและภาษาไม่จำเป็นจะสอดคล้องต้องกันเสมอไป และเสนอให้แยกประเด็นของเชื้อชาติตามสีผิวออกจากภาษาและวัฒนธรรม พร้อมๆกับต่อต้านลัทธิเหยียดสีผิว จนกระทั่งในช่วงทศวรรษที่ 1950 ความคิดของ Franz Boasก็เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในอเมริกา และตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา นักมานุษวิทยาส่วนใหญ่ก็ยืนยันตรงกันว่า การจัดลำดับเชื้อชาติตามสีผิวนั้นเป็นไปไม่ได้ ส่วนลัทธิเหยียดสีผิวนั้นมีอยู่จริง หลังจากปี ค.ศ. 1970 นักมานุษวิทยาจึงเสนอให้หันมาเน้นการศึกษาเกี่ยวกับ ความเป็นชาติพันธุ์ (Ethnicity) เพราะเป็นกระบวนการแสดงความเป็นตัวตนทางวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชน แทนการจัดลำดับเชื้อชาติตามสีผิว ซึ่งถือเป็นกระบวนการกีดกันทางสังคมพร้อมๆกันนั้นนักมนุษยวิทยาตะวันตกก็เสนอให้เรียกกลุ่มชน ที่แสดงความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมว่า กลุ่มชาติพันธุ์(Ethnic Groups) แทน ชนเผ่า (Tribe) ซึ่งแฝงไว้ด้วยแนวความคิดวิวัฒนาการ ที่จัดให้ชนเผ่าเป็นกลุ่มชนบทในสังคมแบบบุพกาลดั้งเดิม ในความหมายที่ล้าหลังและแฝงนัยในเชิงดูถูกดูแคลนไว้ด้วย เพราะเป็นขั้นตอนแรกของวิวัฒนาการของสังคมที่ยังไม่มีรัฐ ก่อนที่จะก้าวไปสู่สังคมรัฐแบบจารีต และสังคมทันสมัยในที่สุด ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า แนวความคิดวิวัฒนการเป็นเพียงการคาดคะเนที่เต็มไปด้วยอคติต่างๆ โดยไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันในเชิงประวัติศาสตร์ได้เสมอไป เช่น ชาวเขาในประเทศไทยมักจะถูกเรียกว่าเป็นชนเผ่า ทั้งๆที่ในประวัติศาสตร์ ชาวเขาบางกลุ่มไม่ว่าจะเป็นชาวอาข่าก็ดี ชาวลีซอก็ดี หรือชาวลาหู่ก็ดี ล้วนสืบทอดวัฒนธรรมเดียวกันกับกลุ่มชนที่เคยปกครองอาณาจักรน่านเจ้าในอดีต มาก่อน อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้อาจยังไม่มีข้อยุติ เพราะในภาษาไทย คำว่าชนเผ่ามีนัยแตกต่างจากความหมายชนเผ่าของชาวตะวันตกอยู่บ้าง ตรงที่คนทั่วไปจะใช้กับชนเผ่าไทยด้วย ซึ่งน่าจะแสดงว่า ภาษาทั่วไปใช้คำว่า ชนเผ่า ในความหมายเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในทางวิชาการด้วย ดังนั้นชนเผ่าในภาษาไทยจึงน่าจะมีสองนัย แต่เพื่อหลีกเลี่ยงนัยในเชิงงดูถูกที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้คำว่าชนเผ่า ในงานทางวิชาการจึงควรใช้กลุ่มชาติพันธุ์เมื่อพูดถึงกลุ่มชนที่แตกต่างกัน ทางวัฒนธรรม