วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

องค์ประกอบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


ทรัพยากรการท่องเที่ยว

คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นได้


นิยามของแหล่งท่องเที่ยว

ดึงดูดใจให้ไปแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆเพื่อความพึงพอใจของเรา



ขอบเขตของแหล่งท่องเที่ยว

-จุดหมายหลัก = สถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถทำให้นักท่องเที่ยวอยู่ได้ช่วงเวลาหนึ่ง

-จุดหมายรอง= สถานที่แวะพักหรือเยี่ยมชมจะใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆ

ความคงทนถาวร
แบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยว

ประเภทที่มีความเป็นคงทนถาวร(แหล่งท่องเที่ยว)

งานเทศกาลมักมีช่วงเวลาของการดำเนินงาน เช่น สงกรานต์

ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน

เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์

แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ

เช่น ป่าไม้ ภูเขา น้ำตก ทะเล เกาะแก่ง

มรดกดลก5แห่งในประเทศไทย

1. ห้วยขาแข้ง

2. อุทยานสุโขทัย

3. อุทยานอยุธยา

4. โบราณคดีบ้านเชียง

5. ดงพญาเย็น-เขาใหญ่

แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น

คือ พวก ศาสนสถาน อนุสรณ์สถาน โบราณสถาน โบราณวัตุ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ

รายงานเรื่อง หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร

หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร


ความเป็นมาของหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
ประวัติความเป็นมา
ความคิดเรื่องการมีหอศิลป์สำหรับประชาชนในวงกว้าง เกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากในอดีตนโยบายภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนในการสนับสนุนงานด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจัง และเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาสติปัญญาอารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ สิ่งนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนวร่วมศิลปินไทยในการสร้างหอศิลปะร่วมสมัย เพื่อให้มีหอศิลป์ที่ทัดเทียมกับสากลและเป็นเกียรติศักดิ์ศรีกับประเทศ รวมทั้งเพื่อให้สังคมมีแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นทางเลือกเพื่อจรรโลงยกระดับจิตใจควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ หอศิลป์สำหรับประชาชนควรเป็นการลงทุนจากภาครัฐ โดยไม่แสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ เป็นการลงทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเช่นเดียวกับการสร้างสาธารณูปโภค การสร้างหอศิลป์เปรียบเป็นสาธารณูปโภคทางสมองิ หรือ softwareทางปัญญาที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการสร้าง hardware
การก่อสร้างหอศิลป์บริเวณย่านปทุมวันซึ่งเป็นแหล่งรวมของเยาวชนวัยรุ่น จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดพวกเขาให้หันมาสนใจและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรม ได้แสวงหาความรู้ความเข้าใจ ได้แสดงออก และพักผ่อนหย่อนใจในเวลาเดียวกัน
โครงการก่อการสร้างหอศิลป์ได้เริ่มขึ้นเมื่อดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯได้มีมติร่วมกับคณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9เมื่อปี 2538 ให้กรุงเทพมหานครจัดสร้างหอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานครณ สี่แยกปทุมวัน โดยมีรูปแบบที่ผ่านการคิดและการตัดสินใจร่วมกัน อย่างไรก็ตามโครงการต้องมาสดุดหยุดลงเมื่อนายสมัครสุนทรเวช เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อมา ในปี 2544 และล้มเลิกโครงการหอศิลป์ตามรูปแบบเดิมให้มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์มากขึ้นพร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงจากเดิมกรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงทุนมาเป็นให้เอกชนสร้างองค์กรด้านศิลปะ ศิลปิน อาจารย์ นักศึกษาและสื่อมวลชน ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมคัดค้านการระงับโครงการเดิม มีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครในสมัยนั้นทบทวนโครงการรวมทั้งการจัดกิจกรรมวาดภาพเขียนยาว 4 กิโลเมตร ในหัวข้อ ฉันเรียกร้องหอศิลป์ไม่เอาศูนย์การค้าิ การดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระงับโครงการฯ และการจัด "ART VOTE"
โหวตเพื่อหอศิลป์
กระทั่งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี 2547 เครือข่ายศิลปินและประชาชนจึงได้นำโครงการหอศิลป์เข้าหารือ และได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคริ ตามโครงการเดิม
นับเป็นเวลา 10 ปี หอศิลปฯ ต้องใช้เวลาเดินทาง ผ่านการผลักดันและรณรงค์อย่างเข้มข้น จนในที่สุด อาคารหอศิลปฯ ก็เกิดขึ้น ณ สี่แยกปทุมวัน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมศิลปะระหว่างกรุงเทพมหานครและเครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร การเดินทาง สู่การรับรู้ศิลปะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว อาคารงดงามแห่งนี้เป็นเสมือนจุดนัดพบทางปัญญา ศิลปะเป็นเรื่องเข้าถึงง่ายและชื่นชมง่าย ทุกคนสามารถมารวมตัวกันเพื่อร่วมกิจกรรมด้านศิลปะอันหลากหลาย นิทรรศการหมุนเวียน ดนตรี กวี ละคร ภาพยนตร์เสวนา และวรรณกรรม เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ นำไปสู่ความเจริญทางปัญญา สุขภาพทางใจ และการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ต่อไป

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
1. เป็นสถานที่ให้การศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมแก่ชุมชน และประชาชน
2. เป็นพื้นที่สำหรับการเชื่อมโยงทุนเดิมจากมรดกทางวัฒนธรรมเข้ากับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ให้เกิดองค์ความรู้หลากหลาย
3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่าย และระดมทรัพยากรในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และเป็นองค์กรส่งเสริม สร้างโอกาส ประสานการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างและพัฒนาระบบการบริหารจัดการหอศิลปฯ สู่ระดับมาตรฐานสากล
4. เป็นเวทีในการนำเสนอและบริหารจัดการ การแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
5. เป็นส่วนเสริมสร้างศักดิ์ศรีแก่กรุงเทพมหานคร สู่ความเป็นมหานครแห่งศิลปวัฒนธรรมระดับโลก
















หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
นิทรรศการและกิจกรรม

ชั้น1 โถง/ห้องเอนกประสงค์, นิทรรศการ “เกมดี ครั้งที่5”
วัน : วันที่6-7 สิงหาคม 2553
พิธีเปิดนิทรรสการ : วันที่6 สิงหาคม 2553
กระทรวงวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมมือกันขับเคลื่อนกิจกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยดำเนินกิจกรรมจัดนิทรรศการ เกมดี ครั้งที่5ขึ้น เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ในการขยายสื่อดีให้เพิ่มขึ้นในสังคม ซึ่งนิทรรศการครั้งนี้ เป้าหมายสำคัญคือแนะนำ พ่อ แม่ ผู้ปกครองให้รู้เท่าทันเด็กและสอนเด็กให้รู้เท่าทันเกม

ชั้นที่2 ห้องกระจก , นิทรรศการ “ผิวเผิน”
วัน : วันที่ 7-22 สิงหาคม 2553
พิธีเปิดนิทรรศการ: วันที่ 6 สิงหาคม 2553 เวลา 18.00น.
“ผิวเผิน” เป็นงานแสดงภาพถ่ายร่วมสมัยของศิลปินสิบเอ็ดคนเพื่อเดินทางไปมหานครนิวยอร์กเพื่องานวิจัยอิสระทางการถ่ายภาพของจุดต่างๆตามตัวเมืองต่างๆ ตามตัวเมืองนิวยอร์ก งานแสดงครั้งนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ทั้งเทคนิคการถ่ายรูปและการสัมผัสค้นหาประสบการณ์
แมนฮัตตันมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งมากเกินกว่าที่จะสามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ สิ่งที่ศิลปินทุกคนสามารถสัมผัสได้คือพื้นผิวที่ถูกปรับแต่งขึ้นมาทั้งทางด้านสังคมและทางกายภาพ
ศิลปินทั้งสิบเอ็ดคนประสบปัญหาในการเดินทางและการซึมซับประสบการณ์ในบลู๊คลิน และแมนฮัตตัน ศิลปินทั้งสิบเอ็ดคนใช้เวลาทั้งหมดสิบแปดคืนในการค้นหาและตรวจสอบจุดต่างๆ ตามเมืองเพื่อที่จะหาวิธีในการตอบโจทย์ที่พวกเขาได้สร้างขึ้นมาเพื่อที่พวกเขาจะได้เรียนรู้ถึงวิถีที่แตกต่างและเต็มไปด้วยความน่าสนใจของอเมริกา งานทั้งหมดที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของวิชาในภาคฤดูร้อนของภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น 3-4 ผนังโค้ง , นิทรรศการ “20 ปี 20 ศิลปิน”
วัน : วันที่ 3-15 สิงหาคม 2553
พิธีเปิดนิทรรสการ : วันที่3 สิงหาคม 2553 เวลา 18.00-21.00น.
จากอดีตสู่อนาคต ชื่นชมกับงานศิลปะร่วมสมัยใน 20ปีที่ผ่านมา และก้าวสู่อนาคตไปกับอักโกะอาร์ตแกลลอรี่และยี่สิบศิลปิน
พบกับการเวิร์คชอปการแกะสลักไม้กับศิลปิน ทัก อาทิยามา, เพลงโกโตะ ร่วมสมัยโดยนักดนตรีชาวญี่ปุ่น คุณโนริโกะ ชุโบอิ และ แสดงการแกะสลักแม่พิมพ์ไม้โดยคุณทัก อากิยามา

ชั้น4 นิทรรศการ “การปลดปล่อย”
วัน : วันที่ 3-13 สิงหาคม 2553
พิธีเปิดนิทรรศการ : วันที่ 4 สิงหาคม 2553 เวลา 18.30น.
“ความทรงจำและจิตใต้สำนึกที่ถูกฝังลึกอยู่ส่วนในสุดของจิตใจ ได้ถูกปิดและปลดปล่อยออกมา เศษเสี้ยวของความทรงจำต่างๆ หลุดลอยไปทั่วทิศทาง ความทรงจำและจิตใต้สำนึกเหล่านั้นหล่อหลอมและจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเปลี่ยนสถานภาพจาก นามธรรม กลายเป็นรูปธรรม”
นิทรรศการแสดงวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีที่4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเล้าธนบุรี จำนวน40ชิ้น ในคอนเซป Release , The การปลดปล่อยเนื้อหาส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น สามแบบหลักๆได้แก่ เนื้อหาที่พาดผิงถึงสังคม , เนื้อหาที่เกี่ยวกับความสนใจในตัวเอง , เนื้อหาที่เกี่ยวกับความทรงจำและจิตใต้สำนึก
ชั้น 7 นิทรรศการ “ไอคอนออฟดีไซน์ ฝรั่งเศส”
วัน: วันนี้ -22 สิงหาคม 2553
“ไอคอนดีไซน์ ฝรั่งเศส” รวบรวมผลงานการออกแบบฝรั่งเศสในศตวรรษที่20 กว่าสามสิบชิ้น ของ ฟิลลิป สตาร์ค , ฌอง พรูเว,ปิแยร์ โปแลง , โรนอง บูรูเลค, และ เลอ กอร์บูชิเย ผลงานการออกแบบฝรั่งเศสแต่ละชิ้นสะท้อนถึงพัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่โดดเด่นในแต่ละยุคสมัยซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศฝรั่งเศส เป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญทางด้านอุตสาหกรรม นิทรรศการชุด “ไอคอน ดีไซน์ สไตล์ฝรั่งเศส” แสดงผลงานออกแบบตั้งแต่รถยนต์ DS Citroen จนถึงเครื่องบิน Concorde ตลอดจนการออกแบบเก้าอี้ยาว LC4 ของ Le Corbusierกล่าวได้ว่า นิทรรศการชุดนี้ตอกย้ำและสะท้อนให้เห็นบทบาทสำคัญของการออกแบบของฝรั่งเศสในประวัติศาสตร์การออกแบบนานาชาติ

ชั้น 8 นิทรรศการ “ภูมินิทัศน์ วัฒนธรรม”
วัน: วันนี้-22 สิงหาคม 2553
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมจัดทำโครงการประกวดภาพถ่ายศิลปวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อนำเสนอกระบวนการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับทุนทางวัฒนธรรมและเพื่อกระตุ้นการสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายศิลปวัฒนธรรมและที่เป็นประโยชน์ในสาขาวิชาชีพการถ่ายภาพและกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลงานที่นำเสนอกว่า 200ภาพ เป็นภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ และภาพถ่ายที่เข้ารอบจากภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้ ผลงานแต่ละภาพนำเสนอภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมที่หลากหลายภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย

ชั้น 9 นิทรรศการรวมพลังศิลปิน เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ “ฝันถึงสันติภาพ”
วัน : วันนี้ -22 สิงหาคม 2553
ด้วยความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของประชาชนในชาติ นิทรรศการฝันถึงสันติภาพ รวมพลังจากศิลปินและนักออกแบบร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานภายใต้แนวคิดในการเยียวยาจิตใจ และตีความจากแง่มุมที่หลากหลายสะท้อนภาวะสถานการณ์ปัจจุบันในเชิงสร้างสรรค์
กระทรวงวัฒนธรรมตระหนักถึงความสำคัญของการเยียวยาจิตใจของคนในชาติ การกอบกู้ภาพลักษณ์ และการฟื้นฟูประเทศ ด้วยการแสดงออกถึงความต้องการสันติภาพในสังคมตามมุมมองของศิลปิน นักคิดสร้างสรรค์ นักแสดง นักร้อง ผู้สร้างภาพยนตร์อิสระ และนักวิชาการ โดยเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ออกแบบงานศิลปะเพื่อสร้างสันติภาพ และสมานฉันท์ในพื้นที่ที่ได้รับผลลกระทบ อาทิ บริเวณห้างเซ็นทัลเวิล์ด สี่แยกราชประสงค์ ถนนเพลินจิต สี่แยกคอกวัว เป็นต้น การบริการออกแบบภูมิทัศน์ ป้ายชื่อร้าน ป้ายโฆษณา ให้ผู้ได้รับผลกระทบโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายของกลุ่มศิลปินและสมาคมกราฟฟิกแห่งประเทศไทย

ปัญหาที่ไป
1. ปัญหาที่เกิดจากการจราจรติดขัด
2. ปัญหาที่เกิดจากมีฝนตกทำให้เดินทางไม่สะดวก
3. มีผู้คนจำนวนมากทำให้รู้สึกว่าอึดอัด
ของที่ระลึก
1. โปสเตอร์
2. โปสการ์ด
3. ภาพวาด(การวาดภาพเหมือน)
4. รูปภาพ

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย

395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย


บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโตเรื่อง “Pérégrinação”ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ จนมีการใช้ชื่อของปินโตบันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส
“Pérégrinação หรือ Pérégrinaçam” แปลว่า “long tour,long travels” ตรงกับคำว่า “Peregrination“ หรือ “Pilgrimage” หมายถึง การเดินทางการท่องเที่ยว หรือการเดินทางแสวงบุญอย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์และผู้อ่านจำนวนไม่น้อยกลับมีความสงสัยต่อความเก่งกล้าสามารถของปินโต บางคนประนามว่างานเขียนของเขาเป็นเรื่องโกหกเพื่อความมีชื่อเสียงของตน

ประวัติของปินโต

ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนาเขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนักปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583 หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1และทรงเป็นกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา
บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชเมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548 (พ.ศ.2091) ปินโต กล่าวว่า
“ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่น
สัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....”
เรื่องราวในหนังสือ Pérégrinação สอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน อาทิ การกล่าวถึง โดมิงกุส ดึ ไซซัส (Domingos de Seisus) ซึ่งเคยถูกจองจำและรับราชการเป็นนายทหารในกรุงศรีอยุธยา (กรมวิชาการ , 2531: 109) ก็ได้รับการยืนยันในงานเขียนของจูอาว เดอ บารอส (João de Baros) เช่นกัน (กรมวิชาการ,2531 : 95) เป็นต้น
งานเขียนปินโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดต่อกับบุคคล และปินโตยังยืนยันว่าเขาได้รับจดหมายฝากฝัง (recommended letter) จากผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัว (Goa) เพื่อให้ได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งโปรตุเกส (Cogan,1653 : 317) แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการอ้างอิงพยานบุคคลของเขา
ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์แต่ต่อมานักประวัติศาสตร์บางท่านก็เคยตั้งข้อสงสัยต่อสถานภาพดังกล่าว (นิธิ, 2525 : 6) ซึ่งถือเป็นความไม่เที่ยงของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในทางกลับกันอาจจะมีผู้ใช้บันทึกของปินโตมาตรวจสอบความแม่นยำของเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งอย่างจริงจังในอนาคตบ้างก็ได้